วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โครงงานวิธีการทางประวัติศาสตร์




โครงงานวิธีการทางประวัติศาสตร์
เรื่อง พธำมะรงค์เสนอ
อาจารย์ การุณย์ สุวรรณรักษา
จัดทำโดย
1. นางสาวพิจิตรา พ่วงสุด เลขที่ 11
2. นางสาวอิสราภรณ์ ชูติิการ เลขที่ 26
3. นายจิณณวัตร แสงอรุณ เลขที่ 37
4. นายปิยวัชร โภชนกิจ เลขที่ 38
5. นายเมธา คงเย็น เลขที่ 43
6. นายหิรัณย์กูล เอียดบิสุทธิ์ เลขที่ 44
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1
โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลาพธำมะรงค์ที่มาและความสำคัญพธำมะรงค์ เดิมเป็นบ้านเกิดของ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ บุคคลสำคัญของชาวจังหวัดสงขลา และของคนไทยทั้งประเทศ ซึ่งต่อมาได้จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์ เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและเพื่อให้ผู้คนทั่วไปได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ที่เกี่ยวกับท่านและความเป็นมาของครอบครัวของท่าน เนื่องจากลักษณะภายในบ้านยังคงลักษณะเดิมไว้เหมือนขณะที่ท่านยังอาศัยอยู่ อีกทั้งยังมีประวัติความเป็นมาของครอบครัวท่านอันยาวนาน ทางกลุ่มจึงเลือกที่จะศึกษาความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์พธำมรงค์
2. เพื่อศึกษาว่า เพราะเหตุใดจึงตั้งชื่อพิพิธภันฑ์ว่า ‘พธำมะรงค์’
3. เพื่อศึกษาประวัติของครอบครัว ‘ติณสูลานนท์’
ขอบเขตของการศึกษาสถานที่ : พิพิธภัณฑ์พธำมรงค์
ระยะเวลาการดำเนินการ : 1 – 31 กรกฎาคม 2553



บทที่ 1
วิธีการดำเนินการศึกษา
วิธีการทางประวัติศาสตร์
1.การกำหนดเป้าหมาย : ขั้นตอนการดำเนินงาน - ศึกษาประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์พธำมรงค์
- ศึกษาว่า เพราะเหตุใดจึงตั้งชื่อพิพิธภันฑ์ว่า ‘พธำมะรงค์’
- ศึกษาประวัติของครอบครัว ‘ติณสูลานนท์’
: วิธีการ - ศึกษาข้อมูลจากกสถานที่จริง2. การรวบรวมข้อมูล : ขั้นตอนการดำเนินงาน - ลงพื้นที่จริง ณ พิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์
: วิธีการ - ศึกษาข้อมูลจากบอร์ดความรู้ภายในพิพิธภัณฑ์ หรือแผ่นพับที่ทางสถานที่จัดไว้
3. การประเมินคุณค่าของหลักฐาน : ขั้นตอนการดำเนินงาน - รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการศึกษา
: วิธีการ - ตรวจสอบข้อมูลว่ามีความถูกต้อง น่าเชื่อถือหรือไม่
4. การตีความหลักฐาน : ขั้นตอนการดำเนินงาน - พิจารณาข้อมูลทั้งหมด
: วิธีการ - พิจารณาข้อมูลว่ามีเจตานแฝงอย่างไรบ้าง
5. การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล : ขั้นตอนการดำเนินงาน - เรียบเรียงข้อมูลที่ได้
: วิธีการ - เรียบเรียงใหม่ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ และขอบเขตการศึกษาที่ตั้งไว้



บทที่ 2
ผลการศึกษา


ประวัติพิพิธภัณฑ์พธำมรงค์ (พะธำมะรง)
พิพิธภัณฑ์พะทำมะรง เดิมเป็นบ้านพักของข้าราชการ ที่ดำรงตำแหน่งพะทำมะรงและพัศดีเรือนจำ จังหวัดสงขลาจัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี,รัฐบุรุษ และนายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของประเทศไทยพ.ศ. 2442 พะทำมะรง เป็นตำแหน่งผู้บังคับการตะราง มีหน้าที่ประจำรักษาและรับ
ผิดชอบ ว่ากล่าวการทั้งปวงในตะราง ให้เรียบร้อยถูกต้อง ตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย
ในการกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่เรือนจำ
พ.ศ. 2463 ได้มีการเรียกตำแหน่งผู้บังคับบัญชากิจการเรือนจำ จากพะทำมะรงเป็น พะทำมะรงพิเศษ มีหน้าที่บังคับบัญชากิจการเรือนจำ ขึ้นตรงต่อผู้ว่าราชการเมือง หรือผู้ว่าราชการจังหวัด
พ.ศ. 2479 ได้มีการออกพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 มาตรา 13 กำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ประจำเรือนจำ ดังนี้1. ผู้บัญชาการเรือนจำ
1.1 ผู้บัญชาการเรือนจำโดยเฉพาะ
1.2 ผู้บัญชาการเรือนจำโดยตำแหน่ง
2. สารวัตรเรือนจำ
3. พัศดี4. ผู้คุม
จากการบังคับใช้พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 จะเห็นได้ว่า ตำแหน่งพะทำมะรงได้หายไป หากเทียบเคียงตำแหน่งพะทำมะรงเดิมน่าจะหมายถึงพัศดี ซึ่งจะมีหน้าที่บังคับบัญชากิจการเรือนจำขึ้นตรงต่อผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอในบังคับบัญชาของจังหวัดหรืออำเภอนั้นๆ พะธำมรงค์คนสุดท้ายที่พักอาศัยในบ้านพักหลังดังกล่าวคือ หลวงวินิจทัณกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์ ) บิดาของฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นั่นเองรวมพัศดีที่พักอาศัยบ้านหลังดังกล่าว จำนวนถึง 9 คน พัศดีคนสุดท้ายที่พักอาศัยคือ นายสะอาด แย้มกลิ่น ก่อนที่จะชำรุดทรุดโทรม จนไม่เหมาะสมที่ผู้บังคับบัญชากิจการเรือนจำจะพักอาศัยได้ แต่ก็ยังคงมีข้าราชการระดับหัวหน้าฝ่ายพักอาศัยอยู่ เป็นบ้านพักข้าราชการของเรือนจำจังหวัดสงขลาเพียงหลังเดียว ข้าราชการคนอื่นๆ พักอาศัยบ้านพักของตัวเองหรือเช่าบ้านเพื่อพักอาศัย เพราะเรือนจำสงขลาในขณะนั้น ไม่มีสถานที่สร้างบ้านพักให้ข้าราชการ
พ.ศ. 2517 เรือนจำฯได้ย้ายมาอยู่ ณ บ้านสวนตูล หมู่ 4 ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ที่ตั้งปัจจุบันบ้านหลังดังกล่าว จึงไม่มีผู้พักอาศัยอีกเลย ทำให้สภาพของบ้าน ทรุดโทรมยิ่งขึ้น จนเกินแก่การจะบูรณะพ.ศ. 2524 ผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการเรือนจำกลางสงขลาในสมัยนั้นได้ปรับปรุงดัดแปลงให้เป็นสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ราชทัณฑ์ของเรือนจำกลางสงขลา และใช้ประโยชน์เรื่อยมาพ.ศ. 2532 ขณะที่ นายประมวล งามไตรไร ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการเรือนจำกลางสงขลา ได้รับดำริจากอธิบดีกรมราชทัณฑ์ นายสนิท รุจิณรงค์ ให้บูรณะบ้านหลังดังกล่าว เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใช้เป็นสถานที่ศึกษาประวัติความเป็นมาของ พะทำมะรงรวมทั้งประวัติของฯพณฯพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ในสมัยที่ท่านพักอาศัย ณ บ้านหลังนี้

ความสำคัญของพิพิธภัณฑ์พะทำมะรงพิพิธภัณฑ์พะทำมะรง เป็นที่สถานที่กำเนิดของ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองค์มนตรี และรัฐบุรุษ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2463 สืบเนื่องจากบิดาของท่านรับราชการ เป็นพะทำมะรงเมืองสงขลา หรือผู้บัญชาการเรือนจำ ในปัจจุบันจนกระทั้ง กรมราชทัณฑ์ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 ยกฐานะเรือนจำสงขลาเป็นเรือนจำจังหวัดสงขลา ตำแหน่งพะทำมะรงเรือนจำ เปลี่ยนเป็นพัศดีเรือนจำ และบิดาของฯพณฯพลเอกเปรม คือ หลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) ได้ดำรงตำแหน่งพัศดีคนแรกของเรือนจำจังหวัดสงขลา ฯพณฯ พลเอกเปรม ใช้ชีวิตอยู่ในบ้านหลังนั้นกับครอบ
ครัว จนกระทั้ง พ.ศ. 247 ซึ่งเป็นปีที่ท่านสอบไล่ได้ชั้นมัธยม 6 ที่โรงเรียมมหาวชิราวุธ จึงได้ออกจากบ้านหลังนั้นไปเรียนต่อชั้นมัธยม 7 ที่กรุงเทพมหานคร รวมระยะเวลาที่ท่านใช้ชีวิตในบ้านหลังนั้น 15ปี ทุกรายละเอียดของบ้านเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตท่านไม่ว่าจะเป็นบริเวณโดยรอบภายนอกและภายในตัวบ้าน การจัดวางสิ่งของเครื่องใช้ทุกชิ้น เป็นไปตามคำบอกเล่าของท่านทั้งสิ้นการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์พะทำมะรง

เมื่อนายประมวล งามไตรไร ได้รับดำริจากนายสนิท รุจิณรงค์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ในขณะนั้น ได้ติดต่อช่างผู้มีฝีมือการก่อสร้างบ้านทรงปั้นหยา มาจากจังหวัดพัทลุง เนื่องจากในจังหวัดสงขลาไม่มีช่างดังกล่าวและ ฯพณฯ พลเอกเปรมฯ ประสงค์ที่จะให้ใช้ไม้ในท้องถิ่นในการจัดทำ จึงได้ใช้ไม้ตะเคียนทอง ซึ่งเป็นไม้ที่หายากมากมาจัดทำ โดยใช้เงินนอกงบประมาณของเรือนจำกลางสงขลาจำนวนหนึ่ง ในการจัดซื้อวัสดุและค่าใช้จ่ายทั้งหมด พิพิธภัณฑ์พะทะมะรงได้ทำพิธีเปิดในปีที่จัดสร้าง ( พ.ศ. 2532) โดยมี นายพิศาล มูลศาสตร์สาธรปลัดกระทรวงมหาดไทย ในขณะนั้น เป็นประธานการดูแลรักษาพิพิธภัณฑ์พะทำมะรงในช่วงแรกๆ เรือนจำกลางสงขลาได้จัดเจ้าหน้าที่ไปประจำทั้งกลางวันและกลางคืน แต่เนื่อง
จากอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ของเรือนจำกลางสงขลามีจำกัด ทำให้ไม่สะดวกที่จะจัดเจ้าหน้าที่ไป
ประจำหรือดูแลรักษา และเห็นว่าเทศบาลนครสงขลา น่าจะมีศักยภาพในการดูแลรักษาได้ดี
กว่า จึงได้มีการลงนามมอบให้พิพิธภัณฑ์พะทำมะรง เป็นทรัพย์สินที่จะอยู่ในความดูแลของ
เทศบาลนครสงขลา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนปัจจุบัน
ประวัติความเป็นมาของตระกูล ติณสูลานนท์

ที่มาของตระกูล "ติณสูลานนท์" นี้ได้รับพระราชทานมาจาก" พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว " เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2462 เพื่อให้ปวงชนชาวไทยได้มีนามสกุลเพื่อเป็นหลักในการสืบเชื้อสาย เป็นธงชัยแห่งครอบครัว และให้ผู้สืบสกุลได้ตั้งอยู่ในคุณงามความดี โดยการรักษา ชื่อเสียงเกียรติยศของบรรพบุรุษผู้เป็นต้นตระกูล ให้มีความเจริญรุ่งเรืองมั่นคงสืบไป
คำว่า ติณสูลานนท์ เป็นนามสกุลของหลวงวินิจ ทัณฑกรรม นามเดิมว่า "บึ้ง"
ผู้เป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้องรวม 4 คน ของนายสุก และนางขลิบ ราษฎรชาวสวนแห่งบ้าน
ท่าใหญ่ ตำบลท่าดี อำเภอลานสกา นายบึ้ง เกิดเมื่อ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2424
คำว่า ติณสูลานนท์ มีความหมาย ดังนี้
" ติณ " แปลว่า " หญ้า "" สูลา " แปลว่า " คม ยอด "" นนท์ " แปลว่า " ความพอใจ "
เมื่อรวมกันเข้าเป็นคำว่า "ติณสูลานนท์" แล้วจะแปลว่า "ความยินดีในหญ้าที่มีคม"





บทที่ 3
สรุปผลการศึกษา

สาเหตุที่ตั้งชื่อบ้านว่า พธำมะรงค์เนื่องจากแต่เดิมนั้นสถานที่แห่งนี้เป็นบ้านพักของข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งพะทำมะรงและพัศดี
คำว่า พธำมะรงค์ นั้นผู้เขียนสืบค้นเอาจากข้อมูลของทางพิพิธภัณฑ์ที่ได้มา พอที่จะสรุปได้ว่า พะทำมะรง เดิมใช้คำว่า พธำมะรงค์ อันเป็นตำแหน่งเก่าแก่ของข้าราชการราราชทัณฑ์ที่มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และเนื่องด้วยวงศ์ตระกูล ติณสูลานนท์ ที่ครั้งหนึ่ง รองอมาตย์โทขุนวินิจทัณฑกรรม หรือ บึ้ง ติณสูลานนท์ (บิดาของพลเอกเปรม)ท่านได้เคยดำรงตำแหน่งพะทำมะรงพิเศษเมืองสงขลา(พ.ศ. 2457)จนกระทั่งได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติราชทัณฑ์( พุทธศักราช 2479)ตำแหน่งพะทำมะรงจึงถูกยกเลิกไป การตั้งชื่อพิพิธภัณฑ์ว่า พธำมะรงค์? นั้นจึงเป็นการเชิดชูวงศ์ตระกูลติณสูลานนท์ที่ได้สร้างคุณงามความดีให้แก่ชาติบ้านเมืองรวมทั้งยังถือเป็นอนุสรณ์สถานของครอบครัวติณสูลานนท์อีกด้วย
ความเป็นมาของบ้านพธำมะรงค์
พิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์ หรือ บ้านของตระกูลติณสูลานนท์ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 1 ถนนจะนะ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา (ใกล้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา) ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสงขลา พิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์ถูกจัดสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2530 บนพื้นที่ 143.5 ตารางวา ใช้งบประมาณราว 736,039.26 บาทในสมัยที่นายสนิท รุจิณรงค์ เป็นอธิบดีกรมราชทัณฑ์ และเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2532 โดยนายพิศาล มูลศาสตร์สาทร(ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในขณะนั้น)พิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์ถูกสร้างขึ้นจากเสี้ยวความทรงจำส่วนหนึ่งของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ตัวพิพิธภัณฑ์เป็นเรือนไม้ยกพื้นชั้นเดียว มีหลังคาทรงปั้นหยาสองหลังคู่ มีชานเปิดโล่งเชื่อมถึงกัน ภายในมีการจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ของตระกูลติณสูลานนท์เอาไว้อย่างครบครัน ซึ่งในปัจจุบันเทศบาลนครสงขลาเป็นผู้รับผิดชอบดูแลและพัฒนาพิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์ให้เป็นศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยว
พิพิธภัณฑ์พะทำมะรง เป็นที่สถานที่กำเนิดของ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองค์มนตรี และรัฐบุรุษ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2463 สืบเนื่องจากบิดาของท่านรับราชการ เป็นพะทำมะรงเมืองสงขลา หรือผู้บัญชาการเรือนจำ ในปัจจุบันจนกระทั้ง กรมราชทัณฑ์ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 ยกฐานะเรือนจำสงขลาเป็นเรือนจำจังหวัดสงขลา ตำแหน่งพะทำมะรงเรือนจำ เปลี่ยนเป็นพัศดีเรือนจำ และบิดาของฯพณฯพลเอกเปรม คือ หลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) ได้ดำรงตำแหน่งพัศดีคนแรกของเรือนจำจังหวัดสงขลา ฯพณฯ พลเอกเปรม ใช้ชีวิตอยู่ในบ้านหลังนั้นกับครอบ
ครัว จนกระทั้ง พ.ศ. 247 ซึ่งเป็นปีที่ท่านสอบไล่ได้ชั้นมัธยม 6 ที่โรงเรียมมหาวชิราวุธ จึงได้ออกจากบ้านหลังนั้นไปเรียนต่อชั้นมัธยม 7 ที่กรุงเทพมหานคร รวมระยะเวลาที่ท่านใช้ชีวิตในบ้านหลังนั้น 15ปี ทุกรายละเอียดของบ้านเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตท่านไม่ว่าจะเป็นบริเวณโดยรอบภายนอกและภายในตัวบ้าน การจัดวางสิ่งของเครื่องใช้ทุกชิ้น เป็นไปตามคำบอกเล่าของท่านทั้งสิ้นเมื่อนายประมวล งามไตรไร ได้รับดำริจากนายสนิท รุจิณรงค์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ในขณะนั้น ได้ติดต่อช่างผู้มีฝีมือการก่อสร้างบ้านทรงปั้นหยา มาจากจังหวัดพัทลุง เนื่องจากในจังหวัดสงขลาไม่มีช่างดังกล่าวและ ฯพณฯ พลเอกเปรมฯ ประสงค์ที่จะให้ใช้ไม้ในท้องถิ่นในการจัดทำ จึงได้ใช้ไม้ตะเคียนทอง ซึ่งเป็นไม้ที่หายากมากมาจัดทำ โดยใช้เงินนอกงบประมาณของเรือนจำกลางสงขลาจำนวนหนึ่ง ในการจัดซื้อวัสดุและค่าใช้จ่ายทั้งหมด พิพิธภัณฑ์พะทะมะรงได้ทำพิธีเปิดในปีที่จัดสร้าง ( พ.ศ. 2532) โดยมี นายพิศาล มูลศาสตร์สาธรปลัดกระทรวงมหาดไทย ในขณะนั้น เป็นประธาน
ในช่วงแรกๆ เรือนจำกลางสงขลาได้จัดเจ้าหน้าที่ไปประจำทั้งกลางวันและกลางคืน แต่เนื่องจากอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ของเรือนจำกลางสงขลามีจำกัด ทำให้ไม่สะดวกที่จะจัดเจ้าหน้าที่ไปประจำหรือดูแลรักษา และเห็นว่าเทศบาลนครสงขลา น่าจะมีศักยภาพในการดูแลรักษาได้ดีกว่า จึงได้มีการลงนามมอบให้พิพิธภัณฑ์พะทำมะรง เป็นทรัพย์สินที่จะอยู่ในความดูแลของเทศบาลนครสงขลา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนปัจจุบัน

ประวัติความเป็นมาของตระกูล ติณสูลานนท์
ที่มาของตระกูล "ติณสูลานนท์" นี้ได้รับพระราชทานมาจาก" พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว " เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2462 เพื่อให้ปวงชนชาวไทยได้มีนามสกุลเพื่อเป็นหลักในการสืบเชื้อสาย เป็นธงชัยแห่งครอบครัว และให้ผู้สืบสกุลได้ตั้งอยู่ในคุณงามความดี โดยการรักษา ชื่อเสียงเกียรติยศของบรรพบุรุษผู้เป็นต้นตระกูล ให้มีความเจริญรุ่งเรืองมั่นคงสืบไป
คำว่า ติณสูลานนท์ เป็นนามสกุลของหลวงวินิจ ทัณฑกรรม นามเดิมว่า "บึ้ง"
ผู้เป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้องรวม 4 คน ของนายสุก และนางขลิบ ราษฎรชาวสวนแห่งบ้าน
ท่าใหญ่ ตำบลท่าดี อำเภอลานสกา นายบึ้ง เกิดเมื่อ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2424
คำว่า ติณสูลานนท์ มีความหมาย ดังนี้
" ติณ " แปลว่า " หญ้า "
" สูลา " แปลว่า " คม ยอด "" นนท์ " แปลว่า " ความพอใจ "
เมื่อรวมกันเข้าเป็นคำว่า "ติณสูลานนท์" แล้วจะแปลว่า "ความยินดีในหญ้าที่มีคม"





ประโยชน์ที่ได้จากการทำโครงงาน
1. ได้ทราบถึงความหมายของคำว่า พธำมรงค์ และ ได้รู้ถึงประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์พธำมรงค์
2. ได้ทราบถึงประวัติของ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรีและรัฐบุรุษของไทย ทั้งประวัติครอบครัว การเรียน หรือการทำงานของท่าน
3. มีความรู้รอบัวเพิ่มมากขึ้น4. ได้ทราบว่าพิพิธภัณฑ์พธำมรงค์นั้นไม่ได้เป็นแค่สถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา แต่เป็นบ้านหลังเก่า หลังเดิมของ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ที่ท่านเคยอยู่อาศัยมาตั้งแต่ยังเด็ก




พิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์














วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

แบบทดสอบของการนับศักราช

http://quickr.me/KlYpXkv

วันวิสาข บูชา

วันวิสาขบูชา หรือ วิศาขบูชา เป็น "วันสำคัญทางพระพุทธ ศาสนาสากล" ของชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก, วันหยุดราชการ ในหลายประเทศ และ วันสำคัญของโลก ตามมติเอกฉันท์ของที่ประชุมสมัชชาสหประชา ชาติ[1] เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน แห่งองค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า โดยทั้งสามเหตุการณ์นั้นได้เกิดตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือในวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขมาส (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง จึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก"วิสาขปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน โดยในประเทศไทย ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 หลัง ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทอื่นที่ไม่ได้ถือคติตามปฏิทิน จันทรคติของไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม และในกลุ่มชาวพุทธมหายานบางนิกาย ที่นับถือว่าเหตุการณ์ทั้ง 3 นั้น เกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ๆ ซึ่งจะไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท

วันวิสาข บูชานั้น ได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญทางพระ พุทธศาสนาสากล เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินี วัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาลในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจน ปัจจุบัน

วิสาขบูชา มีการนับถือปฏิบัติกันในหลายประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งมหายานและ เถรวาททุกนิกายมาช้านานแล้ว ในบางประเทศเรียกพิธีนี้ว่า "พุทธชยันตี" (Buddha Jayanti) เช่นใน อินเดีย และศรีลังกา ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ เช่น ประเทศอินเดีย, ประเทศไทย, ประเทศพม่า, ประเทศศรีลังกา, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น (ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท มากที่สุด) ในฝ่ายของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ได้รับคติการปฏิบัติบูชาในวันวิสาขบูชามาจากลังกา (ประเทศศรีลังกา) ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่ามีการจัดพิธีวิสาขบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

วัน วิสาขบูชา ถือได้ว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เพราะชาวพุทธทุกนิกายจะพร้อมใจกันจัดพิธีพุทธบูชาในวันนี้พร้อมกันทั่วทั้ง โลก[4] (ซึ่งไม่เหมือนวันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา ที่เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่นิยมนับถือกันเฉพาะในประเทศไทย, ลาว, และกัมพูชา) และด้วยเหตุนี้ ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติจึงยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็น "วันสำคัญสากลนานาชาติ (International Day)" หรือ "วันสำคัญของโลก" ตามคำประกาศของที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 54 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542

ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์ สำคัญ 3 เหตุการณ์ดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันคล้ายวันที่ "ประสูติ" ของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาได้ "ตรัสรู้" เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงกอปรไปด้วย "พระบริสุทธิคุณ", "พระปัญญาคุณ" ผู้ซึ่งได้ทรงสั่งสอนประกาศพระสัจธรรม คือความจริงของโลกแก่พหูชนทั้งปวงโดย "พระมหากรุณาธิคุณ" จวบจนทรง "เสด็จดับขันธปรินิพพาน" ในวาระสุดท้าย ซึ่งทั้งสามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องในวันเพ็ญเดือน 6 ทั้งสิ้นนี้ ทำให้พระพุทธศาสนาได้บังเกิดและสืบต่อมาอย่างมั่นคงจนถึงปัจจุบัน

ความ สำคัญ

วันวิสาขบูชาเป็นวันที่ระลึกถึงวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือนวิสาขมาส (เดือน 6) ตรงกันทั้ง 3 คราว คือ

* เช้าวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี เจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติ ที่พระราชอุทยานลุมพินีวันระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ
* เช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี เจ้าชายสิทธัตถะ ตรัสรู้ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี ปัจจุบัน สถานที่แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
* หลังจากตรัสรู้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงออกประกาศพระธรรมวินัยและโปรดเวไนยสัตว์เป็นเวลา 45 ปี เมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา ก็ เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมืองกุสีนคระ แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย)

เนื่อง จากเหตุการณ์สำคัญทั้ง 3 เหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้น เกิดขึ้นตรงกันในวันเพ็ญ เดือน 6 ชาวพุทธจึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วันวิสาขบูชา" ซึ่งแปลว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือนหก (บางแห่งเรียกว่า วันพระพุทธเจ้า หรือ พุทธชยันตี)


วัน ประสูติ

เหตุการณ์ในวันประสูติเป็นเหตุการณ์สำคัญลำดับแรกของพระ พุทธเจ้าเกิดขึ้น ในวันเพ็ญ เดือนวิสาขมาส โดยพระพุทธเจ้าหรือพระนามเดิม "เจ้าชายสิทธัตถะ" ได้ประสูติในพระบรมศากยราชวงศ์ เป็นพระราชโอรสแห่งพระเจ้าสุทโธทนะศากย ราชา ผู้ทรงดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ และ พระนางสิริมหา มายา ศากยราชเทวี ผู้ทรงเป็นพระราชมเหสีแห่งพระเจ้าสุทโธทนะ โดยเจ้าชายสิทธัตถะทรงดำรงตำแหน่งศากยมกุฏราชกุมาร ผู้จักได้รับสืบพระราชบัลลังก์เป็นกษัตริย์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์สืบไป


วัน ตรัสรู้

เหตุการณ์การตรัสรู้พระบรมสัมมาสัมโพธิญาณของเจ้าชายสิ ทธัตถะนี้ เป็นเหตุการณ์สำคัญลำดับที่สองของพระพุทธเจ้าที่ได้เกิดในวันเพ็ญ เดือนวิสาขมาส ซึ่งเหตุการณ์นี้ถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของพระ พุทธเจ้าและพระพุทธศาสนา โดยถือได้ว่าเป็นการเกิดครั้งที่สองของเจ้าชายสิทธัตถะ คือ ครั้งแรกนั้นเพียงเกิดเป็นมนุษย์ แต่การตรัสรู้นี้ถือว่าเป็นการเกิดใหม่อีกครั้ง เป็นการเกิดที่หาได้โดยยาก เป็นการเกิดที่สมบูรณ์พร้อมด้วยอริยผล รู้แจ้งซึ่งสรรพกิเลสทั้งปวง หลุดพ้นจากบ่วงแห่งมาร คือ ทุกข์และสุขทั้งปวงได้หมดสิ้น เหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะเป็น "พระสัมมาสัมพุทธเจ้า" แปลว่า ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง (ผู้ไม่ได้รับบัญชาจากใคร ผู้ไม่ได้รับโองการจากพระผู้สร้าง หรือเทพเทวดาองค์ไหน) เป็นการ "รู้แจ้งโลกทั้งปวง" ที่เจ้าชายสิทธัตถะในฐานะมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่งพึงกระทำได้ และทุกคนมีสิทธิ์ที่จะ "รู้" เหมือนที่พระองค์ทรงรู้ด้วยเหมือนกัน ดังนั้น จึงทำให้มีผู้เรียกพระธรรมวินัยหรือคำสั่งสอนของพระองค์ว่า "พระพุทธศาสนา" แปลว่า "ศาสนาของผู้รู้แจ้ง - ศาสนาของผู้ (ปฏิบัติเพื่อ) หลุดพ้นจากกิเลสทั้งมวล"

วัน ปรินิพพาน
ทรง ปลงพระชนมายุสังขาร
พระ พุทธองค์ทรงปฏิบัติดำรงตนในฐานะพระบรมศาสดา เผยแผ่พระธรรมวินัย คือ พระพุทธศาสนาแก่พหูชนชาวชมพูทวีปเป็นเวลากว่า 45 ปี ทำให้พระศาสนาตั้งหลักฐานอย่างมั่นคง ณ ชมพูทวีปกว่าพันปี และพระพุทธศาสนาได้ขยายออกไปทั่วแผ่นดินเอเชียนับแต่นั้นมา จวบจนพระพุทธองค์มีพระชนมายุ 80 พรรษา ทรงมีพระวรกายชราภาพเสมือนคนทั่วไป พระองค์ตรัสว่า ศาสนาของพระองค์ได้ทรงตั้งมั่นแล้ว ทรงทำหน้าที่แห่งพระพุทธเจ้าบริบูรณ์แล้ว ในเวลาสามเดือนก่อนจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ขณะพระองค์ประทับอยู่ ณ ปาวาลเจดีย์ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เมืองเวสาลี ได้ทรงตรัสอภิญญาเทสิตธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วพระองค์ทรงทำการปลงพระชนมายุสังขารว่า
..ภิกษุทั้งหลาย! บัดนี้ เราจักเตือนท่านทั้งหลาย: สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา..., ตถาคตจักปรินิพพาน โดยกาลล่วงไปแห่งสามเดือนจากนี้..

กิจกรรม ที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติในวันวิสาขบูชา

ในวันวิสาขบูชานี้ ถือเป็นวันสำคัญยิ่งที่ชาวพุทธทั่วโลกจะมารวมกันจัดพิธีทำบุญใหญ่หรือจัด กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อบำเพ็ญกุศลระลึกถึงพระพุทธเจ้า[4] ซึ่งในฐานะที่วันวิสาขบูชาได้รับการยกย่องให้เป็นวันสำคัญสากลของโลก เมื่อถึงวันวิสาขบูชา องค์การสหประชาชาติจะมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อรำลึกถึงพระพุทธเจ้าด้วย เช่น สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ มหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีการอัญเชิญพระเจดีย์วิสาขบูชานุสรณ์ สกลโลกประกาศบูชาวันวิสาขะ (ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ) ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติเป็นการถาวร มาประดิษฐานให้ประชาชนสักการะบูชา เป็นต้น[45]

สำหรับในประเทศไทย นอกจากพุทธศาสนิกชนจะเข้าวัดบำเพ็ญบุญกุศลถือศีลฟังธรรมแล้ว ยังนิยมปล่อยนกปล่อยปลา และเวียนเทียนรอบพระอุโบสถในตอนค่ำเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาด้วย

วัน วิสาขบูชา พุทธศาสนิกชนชาวไทยนิยมทำบุญตักบาตรในตอนเช้า และตลอดวันจะมีการบำเพ็ญบุญกุศลความดีอื่น ๆ เช่น ตั้งใจรักษาศีล 5 ศีล 8 งดเว้นการทำบาปทั้งปวง ทำบุญถวายสังฆทาน ให้อิสระทาน (ปล่อยนกปล่อยปลา) ฟังพระธรรมเทศนา และไปเวียนเทียนรอบโบสถ์ในเวลาเย็น[46]

โดยก่อนทำ การเวียนเทียนพุทธศาสนิกชนควรร่วมกันกล่าวคำสวดมนต์และคำบูชาใน วันวิสาขบูชา โดยปกติตามวัดต่าง ๆ จะจัดให้มีการทำวัตรสวดมนต์ก่อนทำการเวียนเทียน ซึ่งส่วนใหญ่นิยมทำการเวียนเทียนอย่างเป็นทางการ (โดยมีพระภิกษุสงฆ์นำเวียนเทียน) ในเวลาประมาณ 20 นาฬิกา โดยบทสวดมนต์ที่พระสงฆ์นิยมสวดในวันวิสาขบูชาก่อนทำการเวียนเทียนนิยมสวด (ทั้งบาลีและคำแปล) ตามลำดับดังนี้

1. บทบูชาพระรัตนตรัย (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:อรหัง สัมมา ฯลฯ)
2. บทนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า (นะโม ฯลฯ ๓ จบ)
3. บทสรรเสริญพระพุทธคุณ (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:อิติปิโส ฯลฯ)
4. บทสรรเสริญพระพุทธคุณ สวดทำนองสรภัญญะ (บทสวดสรภัญญะที่ขึ้นต้นด้วย:องค์ใดพระสัมพุทธ ฯลฯ)
5. บทสรรเสริญพระธรรมคุณ (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:สวากขาโต ฯลฯ)
6. บทสรรเสริญพระธรรมคุณ สวดทำนองสรภัญญะ (บทสวดสรภัญญะที่ขึ้นต้นด้วย:ธรรมมะคือ คุณากร ฯลฯ)
7. บทสรรเสริญพระสังฆคุณ (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:สุปฏิปันโน ฯลฯ)
8. บทสรรเสริญพระสังฆคุณ สวดทำนองสรภัญญะ (บทสวดสรภัญญะที่ขึ้นต้นด้วย:สงฆ์ ใดสาวกศาสดา ฯลฯ)
9. บทสวดบูชาเนื่องในวันวิสาขบูชา (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:ยะมัมหะ โข ฯลฯ)

จากนั้นจุดธูปเทียนและ ถือดอกไม้เป็นเครื่องสักการะบูชาในมือ แล้วเดินเวียนรอบปูชนียสถาน 3 รอบ โดยขณะที่เดินนั้นพึงตั้งจิตให้สงบ พร้อมสวดระลึกถึงพระพุทธคุณ ด้วยการสวดบทอิติ ปิโส (รอบที่หนึ่ง) ระลึกถึงพระธรรมคุณ ด้วยการสวดสวากขา โต (รอบที่สอง) และระลึกถึงพระสังฆคุณ ด้วยการสวดสุปะฏิปันโน (รอบที่สาม) จนกว่าจะเวียนจบ 3 รอบ จากนั้นนำธูปเทียนดอกไม้ไปบูชาตามปูชนียสถานจึงเป็นอันเสร็จพิธี

การแบ่ง ช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ สากล ไทย และวิธีการทางประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์สากลในความหมายทั่วไป หมายถึง ประวัติศาสตร์ของผู้คนและชาติต่าง ๆ ในโลกตะวันตก (Western World) ซึ่งได้แก่ ผู้คนและชาติในทวีปยุโรป และอเมริกา ประวัติศาสตร์สากลมีช่วงเวลาที่ยาวนาน ย้อนไปเป็นเวลาหลายพันปี เพื่อความสะดวกในการศึกษา นักประวัติศาสตร์ได้แบ่งเป็นช่วงเลาที่มีลักษณะร่วมกัน เรียกเป็นสมัย คือสมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยใหม่ สมัยปัจจุบัน หรือร่วมสมัย นัก ประวัติศาสตร์สากล ได้พัฒนาวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์มาเป็นเวลาประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว เพื่อให้การศึกษาประวัติศาสตร์มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ ทำให้เรารู้และเข้าใจ เรื่องราวทั้งหลายของผู้คนในอดีตได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการเข้าใจปัจจุบันและคาดการณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้น ในอนาคตได้อย่างมีเหตุผล

*******************************************************

การ นับและเทียบศักราชสากลและไทย

ในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มักนิยมใช้การระบุช่วงเวลาเพื่อให้ทราบถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยจะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การนับเวลาแบบไทย และการนับเวลาแบบสากล
การ นับเวลาแบบ ไทย

ในประวัติศาสตร์ไทย จะมีการบันทึกเรื่อง ราวต่างๆ โดยมีการอ้างอิงถึงการนับช่วงเวลาแตกต่างกันไป ตามแต่ละท้องถิ่นมีดังนี้

1.พุทธ ศักราช(พ.ศ.)
เป็นการนับเวลาทางศักราชในกลุ่มผู้นับถือพระพุทธ ศาสนา โโยเริ่มนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ให้นับเป็นพุทธศักราชที่1 ทั้งนี้ประเทศไทยจะนิยมใช้การนับเวลาแบบนี้ โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ครั้งสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนมาเป็ฯที่แพร่หลายและ ระบุใช้กันอย่างเป็นทางการในสมัยพระบาท สมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 6) ในปีพุทธศักราช 2455

2. มหาศักราช(ม.ศ.) การ นับศักราชนี้จะพบในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยสุโขทัย และอยุธยาตอนต้นโดยคิดขึ้นจากกษัตริย์ของอินเดีย (พระเจ้ากนิษกะ) ซึ่งพ่อค้าอินเดียและพวกพราหมณ์นำเข้ามาเผยแพร่ในเวลาติดต่อการค้ากับไทยใน สมัยโบราณ จะมีปรากฎในศิลาจาลึกเพื่อบันทึกเรื่องราวเหตุกาณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าปีมหาศักราชที่1 จะตรงกับปีพุทธศักราช 621

3.จุลศักราช ( จ.ศ.)
จัดตั้งขึ้นโดยสังฆราชมนุโสรหัน แห่งอาณาจักรพุกาม เมื่อปีพุทธศักราช 1181โดยไทยรับเอาวิธ๊การนับเวลา นี้มาใช้ในสมัยอยุธยา เพื่อการคำนวณทาง โหราศาสตร์ ใช้บอกเวลาในจารึก ตานาน พระราชพงศาวดาร จดหมายเหตุ ต่างๆ จนมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่5 ) จึงเลิกใช้

4.รัตน โกสินทร์ศก (ร.ศ) การนับเวลาแบบนี้พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว(รัชกาลที่5)ทรงตั้งขึ้น
ในปีพุทธศักราช2432 โดยกำหนดให้กำหนดให้นับปีที่พระบาทสมเด็จพระพุทะยอดฟ้าจฬาโลกมหาราช สถา ปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปีพุทธศักราช 2325 เป็นรัตนโกสินทร์ศกที่1 และให้เริ่มใช้ศักราชนี้ในทางราชการตั้งแต่วันที่1 เมษายน ร.ศ.108 (พ.ศ.2432) เป็นต้นมา

การ นับเวลาแบบสากล

1. คริสต์ศักราช (ค.ศ. )
เป็นการนับเวลาทางศักราชของผู้นับถือ ศาสนาคริสต์ ซึ่งถือเป็นการนับเวลาที่นิยมใช้กันมาทั่วโลก โดยคริสต์ ศักราชที่1 เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเยซูคริสต์ประสูต(ตรงกับ พ.ศ.543)และถือระยะเวลาที่อยู่ก่อนคริสต์ศักราชลงไป จะเรียกว่าสมัยก่อนคริสต์ศักราชหรือก่อนคริสต์กาล

2. ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) เป็นการนับเวลาทางศักราชของผู้นับถือศาสนา อิสลามโดยอาศัยปีที่
ท่านนบีมูฮัมหมัดได้อพยพจากเมืองเมกกะไปยังเมืองมา ดิ นา เป็นปีเริ่มต้นของศักราชอิสลามซึ่งตรงกับวันที่ 6 กรกฏาคม ค.ศ. 622

อย่าง ไรก็ตาม การนับศักราชแบบต่างๆ ในบางครั้งบางเหตุการณ์ก็ไม่ได้ระบุความชัดเจนไว้ แต่อาจกล่าวการนับเวลาอย่างกว้างๆ ไว้ ซึ่งนิยมเรียกกันใน 3 รูปแบบ ดังนี้

ทศวรรษ (decade) คือ รอบ 10 ปี นับจากศักราชที่ลงท้ายด้วย 1 ไปจนถึงศักราชที่ลงท้ายด้วย 0 เช่น ทศวรรษที่ 1990 ตามคริสต์ศักราช หมายถึง ค.ศ.1991-2000

ศตวรรษ (century) คือ รอบ 100ปี นับจากศักราชที่ลงท้าย 1 ไปจนครบ 100ปีในศักราชที่ลงท้สยด้วย00 เช่น พุทธศตวรรษที่26 คือ พ.ศ.2501-2600

สหัสวรรษ (millenium) คือ รอบ 1000 ปี ศักราชที่ครบแต่ละสหัสวรรษจะลงท้ายด้วย000 เช่น สหัส วรรษที่ 2 นับตามพุทธศักราช คือ พ.ศ. 1001-2000

หลัก เกณฑ์การเรียบเทียบ ศักราชในระบบต่างๆ

การ นับศักราชที่แตกต่าง กัน จะทำให้เกิดความสับสนและไม่ชัดเจนในการศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ ดั้งนั้น การเปรียบเทียบศักราชให้เป็นแบบเดียวกัน จะช่วยให้สามารถศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ได้เข้าใจมากขึ้น รวมทั้งทำให้ทราบว่าในช่วงศักราช หรือช่วงเวลาเดียวกันในแต่ละภาคของโลก เกิดเหตุการณณ์ สำคัญๆ ทางประวัติศาสตร์ อะไรบ้าง

**********************************************************

หลัก เกณฑ์การแบ่งยุคสมัยทาง ประวัติ ศาสตร์

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติ ศาสตร์สากล

-แบ่งต่ามความเจริญทาง อารยธรรมของมนุษย์

-แบ่ง ตามการเริ่มต้นของ เหตุการณ์สำคัญ

-แบ่งตามชื่อจักรวรรดิ หรืออาณาจักรที่สำคัญที่เคยรุ่งเรือง

-แบ่งตามราชวงศ์ที่ปกครอง ประเทศ
-แบ่งตามการตั้งเมืองหลวง


การแบ่งยุคสมัย ทางประวัติศาสตร์สากล

สมัยก่อนประวัติศาสตร์

-ยุคหินเก่า มนุษย์ใช้เครื่อง มือทำด้วยหินหยาบ ๆ อาศัยอยู่ในถ้ำ ล่าสัตว์

-ยุค หินใหม่ มนุษย์ใช้เครื่อง มือหินที่มีการขูด แต่ง ตั้งถิ่นฐานเพราะปลูก เลี้ยงสัตว์

-ยุคโลหะ มนุษย์ใช้เครื่อง มือที่ทำด้วยโลหะ เช่น สำริด เหล็ก อยู่เป็นชุมชน


สมัยประวัติศาสตร์

-สมัยโบราณ

เริ่ม ประมาณ ๓,๕๐๐ ปีก่อน ค.ศ.เมื่อมนุษย์ประดิษฐ์อักษรถึง ค.ศ. ๔๗๖ เมื่อจักรวรรดิโรมันสิ้นสุด เพราะการรุกรานของพวกอนารยชนเยอรมัน

เริ่ม ค.ศ. ๔๗๖ หลังสิ้นสุดจัรวรรดิโรมัน จนถึง ค.ศ.๑๔๙๒ เมื่อคริสโตเฟอร์ดโคลัมมบัส ค้นพบทวีปอเมริกา

-สมัยกลาง

เริ่ม ค.ศ. ๔๗๖ หลังสิ้นสุดจัร วรรดิโรมัน จนถึง ค.ศ.๑๔๙๒ เมื่อคริสโตเฟอร์ดโคลัมมบัส ค้นพบทวีปอเมริกา

-สมัยใหม่

เริ่ม จาก ค.ศ. ๑๔๙๒ เมื่อยุโรปขยายอำนาจและอิทธิพลไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลก ทำให้มีผลต่อความเจริญ ของโลกมัยใหม่ จนถึง ค.ศ.๑๙๔๕ เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒

-สมัยปัจจุบันหรือร่วมสมัย

เริ่ม จาก ค.ศ.๑๙๔๕ จนถึงเหตุการณ์และความเจริญปัจจุบัน มีผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน



การแบ่งยุคสมัยทาง ประวัติศาสตร์ ไทย

ส่วนใหญ่ยึดถือหลักเกณฑ์ของประวัติศาสตร์สากล แบ่งเป็น สมัยก่อนประวัติศาสตร์ไทย และสมัยประวัติศาสตร์ไทย

สมัย ประวัติศาสตร์ไทยแบ่งตาม

สมัยโบราณ หรือสมัยก่อน สุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๑๘๐ ถึง พ.ศ. ๑๗๙๒

สมัยสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๗๙๒ ถึง ๒๐๐๖

สมัย อยุธยา ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๙๓ ถึง ๒๓๑๐

สมัยธนบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๐ ถึง ๒๓๒๕

สมัยรัตน โกสินทร์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๕ ถึง ปัจจุบัน

*******************************************

ประวัติ ศาสตร์สากล

เหตุการณ์สำคัญ ในประวัติศาสตร์สากละนำมาเป็นตัวอย่าง คือ ยุคจักรวรรดินิยม เกิดขึ้นมาจากปัจจัยหลายประการ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และพลังทางสังคม ซึ่งทำให้ประเทศในทวีปยุโรปมีอำนาจเข้มแข็งมีความก้าวหน้า ทางเศรษฐกิจ มีความเจริญรุ่งเรือง แต่การมีอำนาจและความมั่นคงดังกล่าวเกิดขึ้นมาเพราะการปฏิวัติอุตสาหกรรม และยุคจักรวรรดินิยม สิ้นสุดเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งทำให้มหาอำนาจ ทั้งหลายหยุดการล่าอาณานิคม แต่อาณานิคมทั้งหลายที่เป็นอยู่ก็ยังคงเป็นอาณานิคมต่อมาอีกหลายปี หลายชาติ เริ่มเรียกร้องเอกราช และส่วนใหญ่ได้เอกราชคืนภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ประวัติ ศาสตร์ไทย

เหตุการณ์สำคัญใน ประวัติศาสตร์ไทย ที่นำมาเป็นตัวอย่าง คือ ยุคการปรับปรุงประเทศ

อยู่ในช่วง พงศ. 2394-2475 หรือ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า อยู่หัว ระหว่างนี้มีการปรับปรุงและปฏิรูปประเทศทุกด้านทั้งการปกครอง สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ฯลฯ


*********************************************

ความ หมายของวิธีการทางประวัติศาสตร์

ในการสืบค้น ค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มีอยู่หลายวิธี เช่น จากหลักฐานทางวัตถุที่ขุดค้นพบ หลักฐานที่เป็นการบันทึกลายลักษณ์อักษร หลักฐานจากคำบอกเล่า ซึ่งการรวบรวมเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ เรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์
วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ การรวบรวม พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์และตีความจากหลักฐานแล้วนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีตว่าเหตุใดจึงเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ในอดีตนั้นได้เกิดและคลี่คลายอย่างไร ซึ่งเป็นความมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์

ขั้น ตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย

เป็น ขั้นตอนแรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและเกิดขึ้น อย่างไร

ขั้น ตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล
หลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ) และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ)
การรวบรวมข้อมูลนั้น หลักฐานชั้นต้นมีความสำคัญ และความน่าเชื่อถือมากกว่าหลักฐานชั้นรอง แต่หลักฐานชั้นรองอธิบายเรื่องราวให้เข้าใจได้ง่ายกว่าหลักฐานชั้นรอง
ใน การรวบรวมข้อมูลประเภทต่างๆดังกล่าวข้างต้น ควรเริ่มต้นจากหลักฐานชั้นรองแล้วจึงศึกษาหลักฐานชั้นต้น ถ้าเป็นหลักฐานประเภทไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ควรเริ่มต้นจากผลการศึกษาของ นักวิชาการที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ก่อนไปศึกษาจากของจริงหรือสถานที่จริง
การ ศึกษาประวัติศาสตร์ที่ดีควรใช้ข้อมูลหลาย ประเภท ขึ้นอยู่กับว่าผู้ศึกษาต้องการศึกษาเรื่องอะไร ดังนั้นการรวบรวมข้อมูลที่ดีจะต้องจดบันทึกรายละเอียดต่างๆ ทั้งข้อมูลและแหล่งข้อมูลให้สมบูรณ์และถูกต้อง เพื่อการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ

ขั้น ตอนที่ 3 การประเมินคุณค่า ของหลักฐาน
วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบ คู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการ วิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอก
การวิพากษ์หลักฐาน (external criticism) คือ การพิจารณาตรวจสอบหลักฐานที่ได้คัดเลือกไว้แต่ละชิ้นว่ามีความน่าเชื่อถือ เพียงใด แต่เป็นเพียงการประเมินตัวหลักฐาน มิได้มุ่งที่ข้อมูลในหลักฐาน ดังนั้นขั้นตอนนี้เป็นการสกัดหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือออกไปการวิพากษ์ ข้อมูลหรือวิพากษ์ภายใน
การวิพากษ์ข้อมูล (internal criticism) คือ การพิจารณาเนื้อหาหรือความหมายที่แสดงออกในหลักฐาน เพื่อประเมินว่าน่าเชื่อถือเพียงใด โดยเน้นถึงความถูกต้อง คุณค่า ตลอดจนความหมายที่แท้จริง ซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อการประเมินหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะข้อมูลในเอกสารมีทั้งที่คลาดเคลื่อน และมีอคติของผู้บันทึกแฝงอยู่ หากนักประวัติศาสตร์ละเลยการวิพากษ์ข้อมูลผลที่ออกมาอาจจะผิดพลาดจากความ เป็นจริง

ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน
การตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดยดูจากลีลาการเขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปของประดิษฐกรรม ต่างๆเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่ง
อาจแอบแฟงโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม
ใน การตีความหลักฐาน นักประวัติศาสตร์จึงต้องพยายามจับความหมายจากสำนวนโวหาร ทัศนคติ ความเชื่อ ฯลฯ ของผู้เขียนและสังคมในยุคสมัยนั้นประกอบด้วย เพื่อทีจะได้ทราบว่าถ้อยความนั้นนอกจากจะหมายความตามตัวอักษรแล้ว ยังมีความหมายที่แท้จริงอะไรแฝงอยู่

ขั้น ตอนที่ 5 การสังเคราะห์และ การวิเคราะห์ ข้อมูล

จัด เป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องเรียบเรียงเรื่อง หรือนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้น
ใน ขั้นตอนนี้ ผู้ศึกษาจะต้องนำข้อมูลที่ผ่านการตีความมาวิเคราะห์ หรือแยกแยะเพื่อจัดแยกประเภทของเรื่อง โดยเรื่องเดียวกันควรจัดไว้ด้วยกัน รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน เรื่องที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน จากนั้นจึงนำเรื่องทั้งหมดมาสังเคราะห์หรือรวมเข้าด้วยกัน คือ เป็นการจำลองภาพบุคคลหรือเหตุการณ์ในอดีตขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์และความต่อเนื่อง โดยอธิบายถึงสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และผล ทั้งนี้ผู้ศึกษาอาจนำเสนอเป็นเหตุการณ์พื้นฐาน หรือเป็นเหตุการณ์เชิงวิเคราะห์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการศึกษา

ที่ มา: http://www.pramot.com/stuweb/m4_249/dee/home.htm

http://writer.dek-d.com/Writer/story/viewlongc.php?id=361744&chapter=28