วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โครงงานวิธีการทางประวัติศาสตร์




โครงงานวิธีการทางประวัติศาสตร์
เรื่อง พธำมะรงค์เสนอ
อาจารย์ การุณย์ สุวรรณรักษา
จัดทำโดย
1. นางสาวพิจิตรา พ่วงสุด เลขที่ 11
2. นางสาวอิสราภรณ์ ชูติิการ เลขที่ 26
3. นายจิณณวัตร แสงอรุณ เลขที่ 37
4. นายปิยวัชร โภชนกิจ เลขที่ 38
5. นายเมธา คงเย็น เลขที่ 43
6. นายหิรัณย์กูล เอียดบิสุทธิ์ เลขที่ 44
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1
โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลาพธำมะรงค์ที่มาและความสำคัญพธำมะรงค์ เดิมเป็นบ้านเกิดของ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ บุคคลสำคัญของชาวจังหวัดสงขลา และของคนไทยทั้งประเทศ ซึ่งต่อมาได้จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์ เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและเพื่อให้ผู้คนทั่วไปได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ที่เกี่ยวกับท่านและความเป็นมาของครอบครัวของท่าน เนื่องจากลักษณะภายในบ้านยังคงลักษณะเดิมไว้เหมือนขณะที่ท่านยังอาศัยอยู่ อีกทั้งยังมีประวัติความเป็นมาของครอบครัวท่านอันยาวนาน ทางกลุ่มจึงเลือกที่จะศึกษาความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์พธำมรงค์
2. เพื่อศึกษาว่า เพราะเหตุใดจึงตั้งชื่อพิพิธภันฑ์ว่า ‘พธำมะรงค์’
3. เพื่อศึกษาประวัติของครอบครัว ‘ติณสูลานนท์’
ขอบเขตของการศึกษาสถานที่ : พิพิธภัณฑ์พธำมรงค์
ระยะเวลาการดำเนินการ : 1 – 31 กรกฎาคม 2553



บทที่ 1
วิธีการดำเนินการศึกษา
วิธีการทางประวัติศาสตร์
1.การกำหนดเป้าหมาย : ขั้นตอนการดำเนินงาน - ศึกษาประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์พธำมรงค์
- ศึกษาว่า เพราะเหตุใดจึงตั้งชื่อพิพิธภันฑ์ว่า ‘พธำมะรงค์’
- ศึกษาประวัติของครอบครัว ‘ติณสูลานนท์’
: วิธีการ - ศึกษาข้อมูลจากกสถานที่จริง2. การรวบรวมข้อมูล : ขั้นตอนการดำเนินงาน - ลงพื้นที่จริง ณ พิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์
: วิธีการ - ศึกษาข้อมูลจากบอร์ดความรู้ภายในพิพิธภัณฑ์ หรือแผ่นพับที่ทางสถานที่จัดไว้
3. การประเมินคุณค่าของหลักฐาน : ขั้นตอนการดำเนินงาน - รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการศึกษา
: วิธีการ - ตรวจสอบข้อมูลว่ามีความถูกต้อง น่าเชื่อถือหรือไม่
4. การตีความหลักฐาน : ขั้นตอนการดำเนินงาน - พิจารณาข้อมูลทั้งหมด
: วิธีการ - พิจารณาข้อมูลว่ามีเจตานแฝงอย่างไรบ้าง
5. การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล : ขั้นตอนการดำเนินงาน - เรียบเรียงข้อมูลที่ได้
: วิธีการ - เรียบเรียงใหม่ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ และขอบเขตการศึกษาที่ตั้งไว้



บทที่ 2
ผลการศึกษา


ประวัติพิพิธภัณฑ์พธำมรงค์ (พะธำมะรง)
พิพิธภัณฑ์พะทำมะรง เดิมเป็นบ้านพักของข้าราชการ ที่ดำรงตำแหน่งพะทำมะรงและพัศดีเรือนจำ จังหวัดสงขลาจัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี,รัฐบุรุษ และนายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของประเทศไทยพ.ศ. 2442 พะทำมะรง เป็นตำแหน่งผู้บังคับการตะราง มีหน้าที่ประจำรักษาและรับ
ผิดชอบ ว่ากล่าวการทั้งปวงในตะราง ให้เรียบร้อยถูกต้อง ตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย
ในการกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่เรือนจำ
พ.ศ. 2463 ได้มีการเรียกตำแหน่งผู้บังคับบัญชากิจการเรือนจำ จากพะทำมะรงเป็น พะทำมะรงพิเศษ มีหน้าที่บังคับบัญชากิจการเรือนจำ ขึ้นตรงต่อผู้ว่าราชการเมือง หรือผู้ว่าราชการจังหวัด
พ.ศ. 2479 ได้มีการออกพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 มาตรา 13 กำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ประจำเรือนจำ ดังนี้1. ผู้บัญชาการเรือนจำ
1.1 ผู้บัญชาการเรือนจำโดยเฉพาะ
1.2 ผู้บัญชาการเรือนจำโดยตำแหน่ง
2. สารวัตรเรือนจำ
3. พัศดี4. ผู้คุม
จากการบังคับใช้พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 จะเห็นได้ว่า ตำแหน่งพะทำมะรงได้หายไป หากเทียบเคียงตำแหน่งพะทำมะรงเดิมน่าจะหมายถึงพัศดี ซึ่งจะมีหน้าที่บังคับบัญชากิจการเรือนจำขึ้นตรงต่อผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอในบังคับบัญชาของจังหวัดหรืออำเภอนั้นๆ พะธำมรงค์คนสุดท้ายที่พักอาศัยในบ้านพักหลังดังกล่าวคือ หลวงวินิจทัณกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์ ) บิดาของฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นั่นเองรวมพัศดีที่พักอาศัยบ้านหลังดังกล่าว จำนวนถึง 9 คน พัศดีคนสุดท้ายที่พักอาศัยคือ นายสะอาด แย้มกลิ่น ก่อนที่จะชำรุดทรุดโทรม จนไม่เหมาะสมที่ผู้บังคับบัญชากิจการเรือนจำจะพักอาศัยได้ แต่ก็ยังคงมีข้าราชการระดับหัวหน้าฝ่ายพักอาศัยอยู่ เป็นบ้านพักข้าราชการของเรือนจำจังหวัดสงขลาเพียงหลังเดียว ข้าราชการคนอื่นๆ พักอาศัยบ้านพักของตัวเองหรือเช่าบ้านเพื่อพักอาศัย เพราะเรือนจำสงขลาในขณะนั้น ไม่มีสถานที่สร้างบ้านพักให้ข้าราชการ
พ.ศ. 2517 เรือนจำฯได้ย้ายมาอยู่ ณ บ้านสวนตูล หมู่ 4 ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ที่ตั้งปัจจุบันบ้านหลังดังกล่าว จึงไม่มีผู้พักอาศัยอีกเลย ทำให้สภาพของบ้าน ทรุดโทรมยิ่งขึ้น จนเกินแก่การจะบูรณะพ.ศ. 2524 ผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการเรือนจำกลางสงขลาในสมัยนั้นได้ปรับปรุงดัดแปลงให้เป็นสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ราชทัณฑ์ของเรือนจำกลางสงขลา และใช้ประโยชน์เรื่อยมาพ.ศ. 2532 ขณะที่ นายประมวล งามไตรไร ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการเรือนจำกลางสงขลา ได้รับดำริจากอธิบดีกรมราชทัณฑ์ นายสนิท รุจิณรงค์ ให้บูรณะบ้านหลังดังกล่าว เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใช้เป็นสถานที่ศึกษาประวัติความเป็นมาของ พะทำมะรงรวมทั้งประวัติของฯพณฯพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ในสมัยที่ท่านพักอาศัย ณ บ้านหลังนี้

ความสำคัญของพิพิธภัณฑ์พะทำมะรงพิพิธภัณฑ์พะทำมะรง เป็นที่สถานที่กำเนิดของ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองค์มนตรี และรัฐบุรุษ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2463 สืบเนื่องจากบิดาของท่านรับราชการ เป็นพะทำมะรงเมืองสงขลา หรือผู้บัญชาการเรือนจำ ในปัจจุบันจนกระทั้ง กรมราชทัณฑ์ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 ยกฐานะเรือนจำสงขลาเป็นเรือนจำจังหวัดสงขลา ตำแหน่งพะทำมะรงเรือนจำ เปลี่ยนเป็นพัศดีเรือนจำ และบิดาของฯพณฯพลเอกเปรม คือ หลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) ได้ดำรงตำแหน่งพัศดีคนแรกของเรือนจำจังหวัดสงขลา ฯพณฯ พลเอกเปรม ใช้ชีวิตอยู่ในบ้านหลังนั้นกับครอบ
ครัว จนกระทั้ง พ.ศ. 247 ซึ่งเป็นปีที่ท่านสอบไล่ได้ชั้นมัธยม 6 ที่โรงเรียมมหาวชิราวุธ จึงได้ออกจากบ้านหลังนั้นไปเรียนต่อชั้นมัธยม 7 ที่กรุงเทพมหานคร รวมระยะเวลาที่ท่านใช้ชีวิตในบ้านหลังนั้น 15ปี ทุกรายละเอียดของบ้านเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตท่านไม่ว่าจะเป็นบริเวณโดยรอบภายนอกและภายในตัวบ้าน การจัดวางสิ่งของเครื่องใช้ทุกชิ้น เป็นไปตามคำบอกเล่าของท่านทั้งสิ้นการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์พะทำมะรง

เมื่อนายประมวล งามไตรไร ได้รับดำริจากนายสนิท รุจิณรงค์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ในขณะนั้น ได้ติดต่อช่างผู้มีฝีมือการก่อสร้างบ้านทรงปั้นหยา มาจากจังหวัดพัทลุง เนื่องจากในจังหวัดสงขลาไม่มีช่างดังกล่าวและ ฯพณฯ พลเอกเปรมฯ ประสงค์ที่จะให้ใช้ไม้ในท้องถิ่นในการจัดทำ จึงได้ใช้ไม้ตะเคียนทอง ซึ่งเป็นไม้ที่หายากมากมาจัดทำ โดยใช้เงินนอกงบประมาณของเรือนจำกลางสงขลาจำนวนหนึ่ง ในการจัดซื้อวัสดุและค่าใช้จ่ายทั้งหมด พิพิธภัณฑ์พะทะมะรงได้ทำพิธีเปิดในปีที่จัดสร้าง ( พ.ศ. 2532) โดยมี นายพิศาล มูลศาสตร์สาธรปลัดกระทรวงมหาดไทย ในขณะนั้น เป็นประธานการดูแลรักษาพิพิธภัณฑ์พะทำมะรงในช่วงแรกๆ เรือนจำกลางสงขลาได้จัดเจ้าหน้าที่ไปประจำทั้งกลางวันและกลางคืน แต่เนื่อง
จากอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ของเรือนจำกลางสงขลามีจำกัด ทำให้ไม่สะดวกที่จะจัดเจ้าหน้าที่ไป
ประจำหรือดูแลรักษา และเห็นว่าเทศบาลนครสงขลา น่าจะมีศักยภาพในการดูแลรักษาได้ดี
กว่า จึงได้มีการลงนามมอบให้พิพิธภัณฑ์พะทำมะรง เป็นทรัพย์สินที่จะอยู่ในความดูแลของ
เทศบาลนครสงขลา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนปัจจุบัน
ประวัติความเป็นมาของตระกูล ติณสูลานนท์

ที่มาของตระกูล "ติณสูลานนท์" นี้ได้รับพระราชทานมาจาก" พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว " เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2462 เพื่อให้ปวงชนชาวไทยได้มีนามสกุลเพื่อเป็นหลักในการสืบเชื้อสาย เป็นธงชัยแห่งครอบครัว และให้ผู้สืบสกุลได้ตั้งอยู่ในคุณงามความดี โดยการรักษา ชื่อเสียงเกียรติยศของบรรพบุรุษผู้เป็นต้นตระกูล ให้มีความเจริญรุ่งเรืองมั่นคงสืบไป
คำว่า ติณสูลานนท์ เป็นนามสกุลของหลวงวินิจ ทัณฑกรรม นามเดิมว่า "บึ้ง"
ผู้เป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้องรวม 4 คน ของนายสุก และนางขลิบ ราษฎรชาวสวนแห่งบ้าน
ท่าใหญ่ ตำบลท่าดี อำเภอลานสกา นายบึ้ง เกิดเมื่อ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2424
คำว่า ติณสูลานนท์ มีความหมาย ดังนี้
" ติณ " แปลว่า " หญ้า "" สูลา " แปลว่า " คม ยอด "" นนท์ " แปลว่า " ความพอใจ "
เมื่อรวมกันเข้าเป็นคำว่า "ติณสูลานนท์" แล้วจะแปลว่า "ความยินดีในหญ้าที่มีคม"





บทที่ 3
สรุปผลการศึกษา

สาเหตุที่ตั้งชื่อบ้านว่า พธำมะรงค์เนื่องจากแต่เดิมนั้นสถานที่แห่งนี้เป็นบ้านพักของข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งพะทำมะรงและพัศดี
คำว่า พธำมะรงค์ นั้นผู้เขียนสืบค้นเอาจากข้อมูลของทางพิพิธภัณฑ์ที่ได้มา พอที่จะสรุปได้ว่า พะทำมะรง เดิมใช้คำว่า พธำมะรงค์ อันเป็นตำแหน่งเก่าแก่ของข้าราชการราราชทัณฑ์ที่มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และเนื่องด้วยวงศ์ตระกูล ติณสูลานนท์ ที่ครั้งหนึ่ง รองอมาตย์โทขุนวินิจทัณฑกรรม หรือ บึ้ง ติณสูลานนท์ (บิดาของพลเอกเปรม)ท่านได้เคยดำรงตำแหน่งพะทำมะรงพิเศษเมืองสงขลา(พ.ศ. 2457)จนกระทั่งได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติราชทัณฑ์( พุทธศักราช 2479)ตำแหน่งพะทำมะรงจึงถูกยกเลิกไป การตั้งชื่อพิพิธภัณฑ์ว่า พธำมะรงค์? นั้นจึงเป็นการเชิดชูวงศ์ตระกูลติณสูลานนท์ที่ได้สร้างคุณงามความดีให้แก่ชาติบ้านเมืองรวมทั้งยังถือเป็นอนุสรณ์สถานของครอบครัวติณสูลานนท์อีกด้วย
ความเป็นมาของบ้านพธำมะรงค์
พิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์ หรือ บ้านของตระกูลติณสูลานนท์ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 1 ถนนจะนะ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา (ใกล้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา) ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสงขลา พิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์ถูกจัดสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2530 บนพื้นที่ 143.5 ตารางวา ใช้งบประมาณราว 736,039.26 บาทในสมัยที่นายสนิท รุจิณรงค์ เป็นอธิบดีกรมราชทัณฑ์ และเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2532 โดยนายพิศาล มูลศาสตร์สาทร(ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในขณะนั้น)พิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์ถูกสร้างขึ้นจากเสี้ยวความทรงจำส่วนหนึ่งของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ตัวพิพิธภัณฑ์เป็นเรือนไม้ยกพื้นชั้นเดียว มีหลังคาทรงปั้นหยาสองหลังคู่ มีชานเปิดโล่งเชื่อมถึงกัน ภายในมีการจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ของตระกูลติณสูลานนท์เอาไว้อย่างครบครัน ซึ่งในปัจจุบันเทศบาลนครสงขลาเป็นผู้รับผิดชอบดูแลและพัฒนาพิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์ให้เป็นศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยว
พิพิธภัณฑ์พะทำมะรง เป็นที่สถานที่กำเนิดของ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองค์มนตรี และรัฐบุรุษ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2463 สืบเนื่องจากบิดาของท่านรับราชการ เป็นพะทำมะรงเมืองสงขลา หรือผู้บัญชาการเรือนจำ ในปัจจุบันจนกระทั้ง กรมราชทัณฑ์ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 ยกฐานะเรือนจำสงขลาเป็นเรือนจำจังหวัดสงขลา ตำแหน่งพะทำมะรงเรือนจำ เปลี่ยนเป็นพัศดีเรือนจำ และบิดาของฯพณฯพลเอกเปรม คือ หลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) ได้ดำรงตำแหน่งพัศดีคนแรกของเรือนจำจังหวัดสงขลา ฯพณฯ พลเอกเปรม ใช้ชีวิตอยู่ในบ้านหลังนั้นกับครอบ
ครัว จนกระทั้ง พ.ศ. 247 ซึ่งเป็นปีที่ท่านสอบไล่ได้ชั้นมัธยม 6 ที่โรงเรียมมหาวชิราวุธ จึงได้ออกจากบ้านหลังนั้นไปเรียนต่อชั้นมัธยม 7 ที่กรุงเทพมหานคร รวมระยะเวลาที่ท่านใช้ชีวิตในบ้านหลังนั้น 15ปี ทุกรายละเอียดของบ้านเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตท่านไม่ว่าจะเป็นบริเวณโดยรอบภายนอกและภายในตัวบ้าน การจัดวางสิ่งของเครื่องใช้ทุกชิ้น เป็นไปตามคำบอกเล่าของท่านทั้งสิ้นเมื่อนายประมวล งามไตรไร ได้รับดำริจากนายสนิท รุจิณรงค์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ในขณะนั้น ได้ติดต่อช่างผู้มีฝีมือการก่อสร้างบ้านทรงปั้นหยา มาจากจังหวัดพัทลุง เนื่องจากในจังหวัดสงขลาไม่มีช่างดังกล่าวและ ฯพณฯ พลเอกเปรมฯ ประสงค์ที่จะให้ใช้ไม้ในท้องถิ่นในการจัดทำ จึงได้ใช้ไม้ตะเคียนทอง ซึ่งเป็นไม้ที่หายากมากมาจัดทำ โดยใช้เงินนอกงบประมาณของเรือนจำกลางสงขลาจำนวนหนึ่ง ในการจัดซื้อวัสดุและค่าใช้จ่ายทั้งหมด พิพิธภัณฑ์พะทะมะรงได้ทำพิธีเปิดในปีที่จัดสร้าง ( พ.ศ. 2532) โดยมี นายพิศาล มูลศาสตร์สาธรปลัดกระทรวงมหาดไทย ในขณะนั้น เป็นประธาน
ในช่วงแรกๆ เรือนจำกลางสงขลาได้จัดเจ้าหน้าที่ไปประจำทั้งกลางวันและกลางคืน แต่เนื่องจากอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ของเรือนจำกลางสงขลามีจำกัด ทำให้ไม่สะดวกที่จะจัดเจ้าหน้าที่ไปประจำหรือดูแลรักษา และเห็นว่าเทศบาลนครสงขลา น่าจะมีศักยภาพในการดูแลรักษาได้ดีกว่า จึงได้มีการลงนามมอบให้พิพิธภัณฑ์พะทำมะรง เป็นทรัพย์สินที่จะอยู่ในความดูแลของเทศบาลนครสงขลา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนปัจจุบัน

ประวัติความเป็นมาของตระกูล ติณสูลานนท์
ที่มาของตระกูล "ติณสูลานนท์" นี้ได้รับพระราชทานมาจาก" พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว " เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2462 เพื่อให้ปวงชนชาวไทยได้มีนามสกุลเพื่อเป็นหลักในการสืบเชื้อสาย เป็นธงชัยแห่งครอบครัว และให้ผู้สืบสกุลได้ตั้งอยู่ในคุณงามความดี โดยการรักษา ชื่อเสียงเกียรติยศของบรรพบุรุษผู้เป็นต้นตระกูล ให้มีความเจริญรุ่งเรืองมั่นคงสืบไป
คำว่า ติณสูลานนท์ เป็นนามสกุลของหลวงวินิจ ทัณฑกรรม นามเดิมว่า "บึ้ง"
ผู้เป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้องรวม 4 คน ของนายสุก และนางขลิบ ราษฎรชาวสวนแห่งบ้าน
ท่าใหญ่ ตำบลท่าดี อำเภอลานสกา นายบึ้ง เกิดเมื่อ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2424
คำว่า ติณสูลานนท์ มีความหมาย ดังนี้
" ติณ " แปลว่า " หญ้า "
" สูลา " แปลว่า " คม ยอด "" นนท์ " แปลว่า " ความพอใจ "
เมื่อรวมกันเข้าเป็นคำว่า "ติณสูลานนท์" แล้วจะแปลว่า "ความยินดีในหญ้าที่มีคม"





ประโยชน์ที่ได้จากการทำโครงงาน
1. ได้ทราบถึงความหมายของคำว่า พธำมรงค์ และ ได้รู้ถึงประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์พธำมรงค์
2. ได้ทราบถึงประวัติของ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรีและรัฐบุรุษของไทย ทั้งประวัติครอบครัว การเรียน หรือการทำงานของท่าน
3. มีความรู้รอบัวเพิ่มมากขึ้น4. ได้ทราบว่าพิพิธภัณฑ์พธำมรงค์นั้นไม่ได้เป็นแค่สถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา แต่เป็นบ้านหลังเก่า หลังเดิมของ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ที่ท่านเคยอยู่อาศัยมาตั้งแต่ยังเด็ก




พิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์