วิชาประวัติศาสตร์ไทย4

บทที่ 4 บุคคลสำคัญของประเทศไทย

เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี

นามเดิมของท่านคือ ม.ร.ว. เปีย มาลากุล เกิดเมื่อ พ.ศ. 2414 เริ่มรับราชการเป็นเสมียนในกรมศึกษาธิการ ต่อมาได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นหลวงไพศาลศิลปศาสตร์ และได้รับตำแหน่งอธิบดีกรมศึกษาธิการ ท่านเป็นผู้ที่ได้รับการศึกษา ในด้านภาษาไทยมาเป็นอย่างดี มีความรู้แตกฉาน และได้แต่งหนังสือไว้หลายเล่มด้วยกัน ที่รู้จักกันดีคือ "สมบัติผู้ดี" ซึ่งยังประโยชน์แก่กุลบุตรกุลธิดา ได้ยึดถือเป็นตำราที่มีคุณค่ามาจนทุกวันนี้ ท่านถึงแก่อสัญญกรรม เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459



สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต

ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลศรี ประสูติเมื่อ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2424 ทรงสำเร็จการศึกษาในวิทยาลัยเสนาธิการ แห่งเยอรมันนี ทรงดำรงตำแหน่งที่สำคัญทางการทหารหลายตำแหน่ง ได้แก่ ผู้บัญชาการทหารเรือ เสนาธิการกระทรวงทหารเรือ เป็นต้น นอกจากนี้ยังทรงพระปรีชาสามารถ ในงานดนตรีเป็นอย่างมาก ทรงนิพนธ์เพลงไว้มากมาย เช่น วอทซ์ปลื้มจิต วอทซ์ชุมพล เพลงสุดเสนาะ เพลงมหาฤกษ์ เพลงมหาโศก ซึ่งใช้บรรเลงในงานศพ ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2487 ขณะทรงประทับอยู่ที่ประเทศชวา



หลวงวิจิตรวาทการ

นามเดิมของท่าน คือ กิมเหลียง วัฒนปดา เกิดเมื่อ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2441 ท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ และนักปราชญ์ราชทูตที่มีความสามารถท่านหนึ่งของไทย ท่านมีความรู้เชี่ยวชาญในศิลปะวิชาการทุกด้านทุกสาขา เช่น การทูต การเมือง การปกครอง การศึกษา ปรัชญา จิตวิทยา ประวัติศาสตร์ สังคม ตลอดจนศิลปะ วรรณคดี และการละคร ผลงานของท่าน เช่น ท่านได้ประพันธ์เพลงปลุกใจ ต้นตระกูลไทย เลือดสุพรรณ และท่านยังมีส่วนร่วมที่สำคัญ ในการสร้างโรงละครแห่งชาติจนสำเร็จ ท่านถึงแกอสัญญกรรมเมื่อ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2505


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์

ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระวิมาดาเธอฯ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ ประสูติเมื่อ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2425 ทรงสำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในสาขารัฐศาสตร์การปกครอง และวิชาประวัติศาสตร์ แล้วเสด็จกลับมารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง และเจ้ากรมพลังภังค์(กรมการปกครอง) ต่อมาทรงดำรงค์ตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล และอุปราชมณฑลภาคใต้ ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงตั้งกรมเสือป่ามณฑลนครศรีธรรมราช เพื่อป้องกันรักษาความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรจากพวกล่าอาณานิคม ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และอภิรัฐมนตรีในสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อ วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2475



พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรวรฤทธิ์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และเจ้าจอมมารดากลิ่น พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ากฤษดาภิหาร ประสูตเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2398 ทรงเป็นต้นราชสกุล กฤษดากร พระองค์ทรงรับราชการในตำแหน่งที่สำคัญทั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 เช่น ทรงดำรงตำแหน่งอัครราชทูตประจำประเทศอังกฤษ และสหรัฐฯ ทรงเป็นคอมมิตตีกรมพระนครบาล เป็นเสนาบดี กระทรวงนครบาล และเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรนงดำรงค์ตำแหน่งสมุหมนตรี เสนากระทรวงมุรธาการ และเสนาบดีที่ปรึกษาในสมัยรัชกาลที่ 6 พระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2468.


เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช

ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชชนนี ประสูตเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2402 พระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ พระองค์ได้ทรงงานสำคัญอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ไว้มากมาย ดังมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระองค์ท่านว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 มีพระราชดำรัสสรรเสริญ "ทรงเป็นหลักเมือง ของพระบรมราชวงศ์จักรี" ทรงได้รับตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์ และโทรเลขเป็นพระองค์แรกของประเทศไทย ทรงเสด็จทิวงคต เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2471


เจ้าพระยายมราช

นามเดิมของท่านคือ ปั้น สุขุม เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2405 ท่านเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ของพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอันมาก จึงมีพระกรุณาโปรดเกล้าให้ท่านเจ้าพระยายมราช ควบคุมการก่อสร้างงานต่างๆมากมาย เช่น การปะปานครหลวง การไฟฟ้ามหานคร ก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นต้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ท่านได้รับพระราชทาน ตำแหน่งมหาอำมาตย์นายก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สำคัญมาก และไม่มีผู้ใดได้รับพระราชทานอีกเลย ครั้นในสมัยพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์ แต่เนื่องด้วยทรงพระเยาว์ สภาผู้แทนราษฏรจึงได้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยมีเจ้าพระยายมราช เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ด้วยท่านหนึ่ง ท่านได้ปฎิบัติภารกิจต่างๆมากมายเป็นอย่างดี จนได้รับการยกย่องให้เป็น "รัฐบุรุษ" ที่สำคัญท่านหนึ่งของไทย


พระยาเฉลิมอากาศ

นามเดิมของท่านคือ สุณี สุวรรณประทีป เกิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2403 ท่านได้เข้าเรียนที่โรงเรียน นายร้อยทหารบกจนจบ และได้เข้ารับราชการ พระยาเฉลิมอากาศเป็นผู้ที่มีใจรักในการบิน และท่านเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ยิ่งใหญ่ในการปกป้องประเทศชาติ ท่านจึงเริ่มจัดตั้งหน่วยการบินขนาดย่อม ที่มีเครื่องบินเพียง 2-3 ลำ จนกลายเป็นกองทัพอากาศ อันแข็งแกร่งในปัจจุบัน ขนอาจกล่าวได้ว่า ท่านเป็น "บิดาแห่งกองทัพอากาศไทย" ท่านถึงแก่อสัญญกรรม เมื่อ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2498


เจ้าพระยาบดินทรเดชา

นามเดิมของท่านคือ สิงห์ สิงหเสนี เกิดในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2320 เมื่อเริ่มเข้าราชการเป็นสมุหนายก ในสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชานับเป็นขุนพลแก้วคู่พระราชบัลลังก์ ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยกย่องอยู่ตลอดเวลา ผลงานที่นับว่ายิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของชาติไทยของท่านคือ สามารถปราบกบฎเวียงจันทน์ จนได้ตัวเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์มาสำเร็จโทษ และตีญวณที่เข้ายึดครองกัมพูชา ให้กลับสู่พระบรมโพธิสมภารดังเดิม ทำให้แผ่นดินไทยมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล และท่านยังเป็นบุคคลเพียงท่านเดียว ที่มีอนุสาวรีย์อยู่นอกอาณาเขตไทย คือตั้งอยู่ที่ประเทศกัมพุชา ท่านถึงแก่อสัญญกรรม เมื่อ พ.ศ. 2398 ผู้เป็นต้นตระกูล สิงหเสนี


สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์

นามเดิมของท่านคือ ช่วง บุนนาค เกิดเมื่อ พ.ศ. 2351 เป็นบุตรของสมเด็จเจ้าพระยามหาประยูรวงศ์ และท่านผู้หญิงจัน ได้เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ท่านได้ตามบิดาไปสร้างเมืองจันทบุรี และต่อเรือกำปั่นรบลำแรกขึ้น โดยเลียนแบบมาจากเรือของพวกฝรั่ง และนำขึ้นถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงโปรดพระราชทานชื่อให้ว่า "เรือแกล้วกลางสมุทร" ชื่อภาษาอังกฤษว่า อาเรียล เมื่อสิ้นสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ (รัชกาลที่ 5)ทรงขึ้นครองราชย์ ขณะนั้นยังทรงพระเยาว์ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ท่านถึงแก่พิราลัยเมื่ออายุได้ 75 ปี


จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี

นามเดิมของท่านคือ เจิม แสงชูโต เกิดเมื่อ พ.ศ. 2394 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกรมมหาดเล็กรักษาพระองค์ขึ้นเป็นครั้งแรก ท่านได้รับการบรรจุเป็นทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ เป็นคนแรก มีหน้าที่อารักขาพระเจ้าแผ่นดิน ขณะออกต้อนรับชาวต่างชาติ และออกขุนนาง ต่อมาท่านได้เลื่อนตำแหน่งจนกระทั่งได้รับตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผลงานของท่านที่ได้รับการกล่าวขานมากที่สุดคือ ท่านเป็นผู้นำเอาไฟฟ้ามาใช้ในเมืองไทยเป็นคนแรก เมื่อ พ.ศ. 2427 ตั้งแต่ยังเป็นจมื่นไวยวรนารถ โดยท่านได้นำมาจากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จึงได้มีไฟฟ้าใช้กันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


พระยาศรีสุนทรโวหาร

นามเดิมของท่านคือ น้อย อาจารยางกูร เกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2365 ท่านมีผลงานที่เด่นมากในวงการศึกษา ท่านเป็นผู้แต่งตำราเรียนชุดแรกของไทย ซึ่งในสมัยนั้น เรียกว่า "แบบเรียนหลวง" ใช้สอนในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ (โรงเรียนหลวงแห่งแรก) และหนังสือกวีนิพนธ์ที่มีคุณค่าอีกหลายเรื่อง งานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง คือท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็น แม่กลองตรวจโคลงบรรยายประกอบรูปภาพเรื่อง "รามเกียรติ์" รอบระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 100 ปี และตัวท่านเองก็ได้รับหน้าที่เป็นผู้แต่งด้วยท่านหนึ่ง ท่านถึงแก่อสัญญกรรมเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2434